ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

พ.ศ. ๒๕๓๙
รับนักศึกษารุ่นแรก
รับนักศึกษารุ่นแรก

รับนักศึกษารุ่นแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) จำนวน ๕๒ คน และรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) จำนวน ๕๐ คน โดยฝากเรียนที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ในชั้นปีที่ ๑ และเรียนชั้นปีที่ ๒ ที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๔๐
เปิดรับหลักสูตร เทคนิคเภสัชฯ ทันตะฯ
เปิดรับหลักสูตร เทคนิคเภสัชฯ ทันตะฯ

เปิดรับหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) และหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)

พ.ศ. ๒๕๔๑
เปิดขยายรับหลักสาธารณสุขศาสตร์
เปิดขยายรับหลักสาธารณสุขศาสตร์

เปิดขยายรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) ร่วมผลิตกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) ในความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๔๔
เปิดหลักสูตรอายุรเวท
เปิดหลักสูตรอายุรเวท

เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการแพทย์แผนไทย (อายุรเวท)

พ.ศ. ๒๕๕๐
พัฒนาหลักสูตร สสช. ทันตะฯ เทคนิคเภสัชฯ
พัฒนาหลักสูตร สสช. ทันตะฯ เทคนิคเภสัชฯ

พัฒนาหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน, ทันตสาธารณสุข, เทคนิคเภสัชกรรม)

พ.ศ. ๒๕๕๑
เวชกิจฉุกเฉิน
เปิดหลักสูตรเวชกิจฉุกเฉิน

เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชกิจฉุกเฉิน

พ.ศ. ๒๕๕๔
เปิดหลักสูตร สบ.สสช
เปิดหลักสูตร สบ.สสช

เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

พ.ศ. ๒๕๕๕
เปิดหลักสูตร สบ.ทันตะ
เปิดหลักสูตร สบ.ทันตะ

เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข

พ.ศ. ๒๕๕๖
พัฒนาหลักสูตร ปวส.ฉุกเฉินฯ ปวส.เทคนิคเภสัชฯ
พัฒนาหลักสูตร ปวส.ฉุกเฉินฯ ปวส.เทคนิคเภสัชฯ

พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชกิจฉุกเฉินเป็น “ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์”และพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(เทคนิคเภสัชกรรม) เป็น “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม”

.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสถาบันพระบรมราชชนก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ ขึ้นไว้ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๓ ก วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๒ ให้สถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของกระทรวงสาธารณสุขแห่งแรก มีสถานะเป็นนิติบุคคลมีภารกิจหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านสุขภาพ และเป็นสถานศึกษาเฉพาะทางด้านสุขภาพที่จัดการศึกษาระดับปริญญาด้านพยาบาล การสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์

ปัจจุบันวิทยาลัยฯ เปิดจัดการศึกษา ๒ ระดับ คือ ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข และระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม สำหรับปีการศึกษา ๒๕๖๑ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็น“หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม” และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๐
ดำรงตำแหน่ง
นายสุเทพ สงฆ์จันทร์
พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕
ดำรงตำแหน่ง
พญ.อัญชลี อินทนนท์
พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙
ดำรงตำแหน่ง
นางศิริ วัฒนธีรางกูร
พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑
ดำรงตำแหน่ง
นางศรีสมพร ทรวงแก้ว
พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๑
ดำรงตำแหน่ง
นางสาวมุกดา สีตลานุชิต
พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๘
ดำรงตำแหน่ง
นายภรต โทนแก้ว
พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่ง
ดร.อรรณพ สนธิไชย
ปรับปรุงข้อมูล : 24 มกราคม 2563