หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
Diploma of Public Health (Pharmacy Technique)

ความเป็นมาที่อยากรู้จัก
สถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันเดียวที่ผลิตเจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม เรียนจบภายในสองปี และจบมาทำงานในห้องยาของโรงพยาบาลทุกระดับ ทำงานร่วมกับเภสัชกร ที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตยา ดูแลคลังยา สามารถอ่านและจัดยาตามใบสั่งยาของแพทย์ ภายใต้เภสัชกร ทำงานร่วมกับวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆในโรงพยาบาล มีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตรวจร้านขายของชำ ตลอดจนส่งเสริมสุขภาพประชาชนในชุมชน และการผลิตสื่อสารสนเทศด้านสุขภาพที่มีความทันสมัยเข้าถึงประชาชนในชุมชน”
สาขานี้เรียนอะไร
เรียนด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย และคณาจารย์ที่เป็นมืออาชีพทางด้านเภสัชกรรม เรียนรู้เกี่ยวกับสูตรและการผลิตยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ทราบถึงกลไกการทำงานของยา เรียนด้านการบริหารเวชภัณฑ์ยาในโรงพยาบาลเพื่อให้มีปริมาณยาที่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วย เรียนการอ่านใบสั่งยา และการให้คำแนะนำผู้ป่วยในการใช้ยาให้ถูกต้อง เพื่อให้คุณประกอบอาชีพเป็น “เจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม” ได้อย่างมั่นใจและมั่นคง
จบสาขานี้ทำอะไร
ทำงานให้ห้องยาและคลังยาของโรงพยาบาล และทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล รวมถึงการมีโอกาสเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม
ข้อมูลอ้างอิง : คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (PHAS)
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วยหมวดวิชาและรายวิชาดังต่อไปนี้
1. หมวดวิชาทักษะชีวิต 21 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 6 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต 6 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 57 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน 16 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ 21 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต และหรือทักษะวิชาชีพ
รวมไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 6) หรือเทียบเท่า ที่ไม่มีพื้นฐานวิชาชีพ จะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ ต่อไปนี้
กลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ 12 หน่วยกิต
5810 101 คณิตศาสตร์สำหรับเทคนิคเภสัชกรรม 3(3-0-6)(Mathematics for Pharmacy Technique)
5810 102 โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ 3(3-0-6)
(Communicable and Non-Communicable Diseases)
5810 103 ระบบสุขภาพ 3(3-0-6)
(Health System)
5810 104 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3(3-0-6)
(Basic First Aid)
1. หมวดวิชาทักษะชีวิต 21 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร (9 หน่วยกิต)
5811 105 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
(Thai for Communication)
5811 106 ภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
(English)
5811 107 ภาษาอังกฤษสำหรับเทคนิคเภสัชกรรม 3(3-0-6)(English for Pharmacy Technique)
1.2 กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา (6 หน่วยกิต)
5811 108 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2-2-5)
(Information Technology)
5811 109 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3(3-0-6)(Sciences and Mathematics in Daily Life)
1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต (6 หน่วยกิต)
5811 110 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ 3(2-2-5)(Systems Thinking Process Development)
5811 111 มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6)
(Human, Society and Environment)
2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 57 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน (16 หน่วยกิต)
5812 112 คุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพ 2(1-2-3)
(Morals and Professional Ethics)
5812 113 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2(1-2-3)
(Anatomy and Physiology)
5812 114 สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ 3(2-2-5)
(Health Education and Behavior Science)
5812 115 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 2(1-2-3)
(Microbiology and Parasitology)
5812 116 เภสัชวิทยา 1 2(2-0-4)
(Pharmacology 1)
5812 217 เภสัชวิทยา 2 2(2-0-4)
(Pharmacology 2)
5812 218 ระบาดวิทยาและชีวสถิติ 3(2-2-5)
(Epidemiology and Biostatistics)
2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ (21 หน่วยกิต)
5812 119 การเตรียมยาเบื้องต้น 1 2(1-2-3)
(Basic Pharmaceutical Compounding 1)
5812 220 การเตรียมยาเบื้องต้น 2 2(1-2-3)
(Basic Pharmaceutical Compounding 2)
5812 221 บริการเภสัชกรรม 1 3(2-2-5)
(Pharmacy Service 1)
5812 222 บริการเภสัชกรรม 2 2(1-2-3)
(Pharmacy Service 2)
5812 223 บริหารเวชภัณฑ์ 3(2-2-5)
(Pharmaceutical Inventory Management)
5812 224 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 2(1-2-3)
(Consumer Protection in Public Health)
5812 225 สารนิเทศทางเภสัชกรรม 2(1-2-3)
(Pharmaceutical Information and Technology)
5812 226 การพัฒนาด้านเทคนิคเภสัชกรรมในชุมชน 3(2-2-5)
(Pharmacy Technique Development in Community)
5812 227 เภสัชกรรมคลินิกเบื้องต้น 2(1-2-3)
(Introduction to Clinical Pharmacy)
2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อย 12 หน่วยกิต)
5812 028 โลจิสติกส์ระบบสุขภาพ 3(3-0-6)
(Health Care Logistics)
5812 029 สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3(3-0-6)
(Herbals and Health Products)
5812 030 สัมมนาทางเทคนิคเภสัชกรรม 3(3-0-6)
(Seminar in Pharmacy Technique)
5812 031 เทคนิคการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ 3(3-0-6)(Disinfection and Sterilization)
5812 032 ความรู้เบื้องต้นเรื่องยาบำบัดโรค 3(3-0-6)(Introduction to Drug Therapy)
5812 033 การบริหารงานสาธารณสุข 3(3-0-6)
(Public Health Administration)
2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ (4 หน่วยกิต)
5812 234 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 2(0-8-0)
(Professional Practicum 1) (ฝึกปฏิบัติ 144 ชั่วโมง)
5812 235 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 2(0-8-0)
(Professional Practicum 2) (ฝึกปฏิบัติ 144 ชั่วโมง)
2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ (4 หน่วยกิต)
5812 236 โครงการพัฒนาด้านเภสัชกรรม 4(0-12-0)(Pharmaceutical Development Project)
(ฝึกปฏิบัติ 216 ชั่วโมง)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี (Elective Course) ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
5813 037 อาเซียนศึกษา 2(2-0-4)
(ASEAN Study)
5813 038 ศาสนาและประเพณีไทย 2(2-0-4)
(Religion and Thai Customs)
5813 039 ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ทางเลือก 2(2-0-4)
(Thai Wisdom and Alternative Medicine)
5813 040 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2(2-0-4)
(Sufficient Economy Philosophy)
5813 041 การศึกษาอิสระ 2(1-2-3)
(Independent Study)
5813 042 การศึกษาดูงาน 2(1-2-3)
(Field Study)
5813 043 การประเมินโครงการ 2(1-2-3)
(Project Evaluation)
5813 044 การประกอบธุรกิจสุขภาพ 2(2-0-4)
(Health Business)
5813 045 การพัฒนาบุคลิกภาพ 2(2-0-4)
(Personality Development)
5813 046 ศิลปะการพูดและการนำเสนอ 2(1-2-3)
(Art of Speech and Presentation)
5813 047 โยคะเพื่อสุขภาพ 2(1-2-3)
(Yoga for Health)
5813 048 ศิลปะการป้องกันตัว 2(1-2-3)
(Martial Arts)
5813 049 กิจกรรมเข้าจังหวะ 2(1-2-3)
(Rhythmic Activities)
5813 050 ศิลปะในชีวิตประจำวัน 2(1-2-3)
(Art in Daily Life)
สำนักงานภาควิชาเทคนิคเภสัชกรรม อาคารปฏิบัติการ ห้อง 2201-2203
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
หมายเลขโทรศัพท์ 045-210-270-74 ต่อ 119
Facebook : https://th-th.facebook.com/pharmscphub/
เว็บไซต์ : https://phar.scphub.ac.th/