Skip to content
  • เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างการบริหาร
    • ตราสัญลักษณ์
    • คณะกรรมการบริหารฯ
    • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • ประวัติความเป็นมา
    • อัตลักษณ์
    • หน่วยงานวิทยาลัย
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (นอกเวลาราชการ)
    • สาขาวิชาทันตสาธารณสุข
    • สาขาวิชาปฎิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
    • สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
  • ระบบสารสนเทศ
    • นักศึกษา
    • บุคลากร
    • ศิษย์เก่า
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างการบริหาร
    • ตราสัญลักษณ์
    • คณะกรรมการบริหารฯ
    • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • ประวัติความเป็นมา
    • อัตลักษณ์
    • หน่วยงานวิทยาลัย
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (นอกเวลาราชการ)
    • สาขาวิชาทันตสาธารณสุข
    • สาขาวิชาปฎิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
    • สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
  • ระบบสารสนเทศ
    • นักศึกษา
    • บุคลากร
    • ศิษย์เก่า
  • ติดต่อเรา
เกี่ยวกับหลักสูตร
รายละเอียดหลักสูตร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
บุคลากรประจำหลักสูตร
ติดต่อภาควิชา
เกี่ยวกับหลักสูตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation

ความเป็นมาที่อยากรู้จัก

ทำไมต้อง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์? หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เรียนแค่ 2 ปี เรียนจบแล้วสามารถเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในฐานะผู้ช่วยแพทย์ เวชศาสตร์และนักปฏิบัติการฉุกเฉิน ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เทศบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข ที่เน้นการป้องกันโรคกรณีฉุกเฉินและการพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน โดยคำนึงถึงการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2556

ปรัชญาหลักสูตร

ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินภายใต้การควบคุมของแพทย์  มีความรู้ทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยใช้ศาสตร์และศิลป์อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติการฉุกเฉินทั้งนอกและในสถานพยาบาล สามารถปฏิบัติหน้าที่ภายใต้อำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบและข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ ตลอดจนดำเนินงานหรือบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้

สาขานี้เรียนอะไร

จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติได้จริงทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน การช่วยฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น กายวิภาคศาสตร์ พยาธิสรีรวิทยาจิตวิทยาทั่วไป เภสัชวิทยาพื้นฐาน การยกและเคลื่อนย้าย การดูแลผู้ป่วยเฉพาะกรณี การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ ให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในจุดเกิดเหตุและสถานพยาบาล

จบสาขานี้ทำอะไร

ทำงานที่ห้องฉุกเฉิน (Emergency room) ของโรงพยาบาล และมีโอกาสการเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ
เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์

ข้อมูลอ้างอิง : คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (PHAS)

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อภาษาอังกฤษ Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อภาษาไทย ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อย่อ: ปวส. (ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation
ชื่อย่อ: Dip. (Emergency Medical Operation)

โครงสร้างหลักสูตร

1.  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 95 หน่วยกิต
2.  จำนวนหน่วยกิตรวมหมวดวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ 12 หน่วยกิต

1. หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต
1)  กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
2)  กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 6 หน่วยกิต
3)  กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต 6 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 56  หน่วยกิต
1)  กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน 15 หน่วยกิต
2)  กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ 21 หน่วยกิต  
3)  กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต  
4)  ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
5)  โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต  
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 
เป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต และหรือทักษะวิชาชีพ

หมายเหตุ *กลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพให้เกรดมีค่าระดับขั้น S หรือ U และไม่นำไปคิดเป็นหน่วยกิตรวมของหลักสูตร

รายวิชาที่กำหนดในกลุ่มวิชาและหมวดวิชาต่างๆ

    1.  หมวดวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ 12 หน่วยกิต

0206106101 ระบบสุขภาพ 3 (3-0-3) (Health System)
0206106102 การปฐมพยาบาล 3 (2-2-3) (First Aid)
0206106103 ศัพท์ทางการแพทย์สำหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน 3 (3-0-3) (Medical Terminology for Emergency Medical Operation)
0206106104 โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ 3 (3-0-3) (Communicable and Non Communicable Diseases)
หมายเหตุ *กลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพให้เกรดมีค่าระดับ S หรือ U และไม่นำไปคิดเป็นหน่วยกิตรวมของหลักสูตร

2.  หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง (General Education Course) 21 หน่วยกิต ให้ศึกษารายวิชาดังต่อไปนี้

1) กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต

GE 101 ภาษาไทยเชิงวิชาการ 3 (2-2-3) (Thai for Academic Purposes)
GE 102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 (2-2-3) (English for Communication)
GE 103 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3 (2-2-3) (English for Academic Purposes)

2) กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 6 หน่วยกิต

GE 305 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3 (3-0-3) (Science and Mathematics in Daily Life)
GE 301 ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล 3 (2-2-3 (Entrepreneur in Digital Era)

3) กลุ่มวิชาทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต 6  หน่วยกิต

GE 210 วัยใส ใจสะอาด 3 (3-0-3) (Youngster with Good Heart)
GE 201 เราคือ สบช. 3 (2-2-3) (We are PBRI)

3.  หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ (Professional Course) ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต
ให้ศึกษาจากรายวิชาดังต่อไปนี้

1)  กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน 15 หน่วยกิต
0206106105 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา (2-2-3)
(Anatomy and Physiology)
0206106106 พยาธิสรีรวิทยาในภาวะฉุกเฉิน (3-0-3)
(Pathophysiology in Emergency Medicine)
0206106107 เภสัชวิทยา (3-0-3) (Fundamental Pharmacology)
4912 117 จิตวิทยาทั่วไป (3-0-6) (General Psychology)
0206106108 การป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (2-2-3) (Holistic Health Prevention and Promotion)
0206106209 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (3-0-3)
(Ethics and Professional Moral Codes)

2) กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ 28 หน่วยกิต
0206106110 หัตถการสำหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน (2-4-4)
(Procedure for Emergency Medical Operation)
0206106111 การประเมินสภาพ (2-2-3) (Patients Assessment) 
0206106212 การยกและการเคลื่อนย้าย (1-2-2)
(Lifting and Moving)
0206106213 การช่วยฟื้นคืนชีพ (1-4-3) (Cardiopulmonary Resuscitation)
4912 224 การช่วยฟื้นคืนชีพ 3(1-4-4)
(Cardiopulmonary Resuscitation)
0206106214 การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน (1-2-2)
(Emergency Medical Care of Trauma Patients)
0206106215 การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน (2-4-4)
(Emergency Medical Care of Medical Patients)
0206106216 ระบบปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน (2-2-3)
(Emergency Medical Operation System)

3) กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ให้เลือกศึกษาจากรายวิชาดังต่อไปนี้

0206106017 นิติเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (3-0-3) (Forensic Medicine and Related Law)
0206106018 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (3-0-3)
(Occupational Health and Safety)
0206106019 การบริหารงานสาธารณสุข (2-2-3)
(Public Health Administration)

0206106020 วิทยาการระบาด (2-2-3) (Epidemiology)

0206106021 จิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต (3-0-3) (Psychology for Quality of Life)    

0206106022 การพัฒนาชุมชนด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (2-2-3) (Emergency Medical Service Development in Community)

0206106023 สัมมนาทางการแพทย์ฉุกเฉิน (2-2-3) (Seminar in Emergency Medicine)    

0206106024 ฝึกทักษะเบื้องต้น (0-6-3) (Elementary Pre-Hospital Skill)

4) ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
4912 233 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 1 2(0-10-0)
(Field Work 1)
4912 234 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 2 2(0-10-0)
(Field Work 2)

5)  โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 4  หน่วยกิต
4912 235 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 4(0-12-0)
(Project for Developing Professional Skill)

4.  หมวดวิชาเลือกเสรี (Elective Course) ไม่น้อยกว่า  6  หน่วยกิต
ให้เลือกศึกษาตามความถนัดและความสนใจจากรายวิชาที่กำหนด หรือเลือกจากรายวิชากลุ่มทักษะชีวิต รายวิชากลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก หรือรายวิชาอื่นที่วิทยาลัยเปิดสอน ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

4913 036 การถ่ายภาพ 2(1-2-3)
(Photography)
4913 037 หัตถเวชศาสตร์  2(1-2-3)
(Traditional Massage)
4913 038 การขับรถยนต์ 2(0-4-2)
(Driving)     
4913 039 การประเมินโครงการ 2(1-2-3)
(Project Evaluation)
4913 040 การว่ายน้ำ 2(0-4-2)
(Swimming)    
4913 041 การพัฒนาบุคลิกภาพ 2(2-0-4)
(Personality Development)
4913 042 พลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีม 2(1-2-3)
(Group Dynamics and Team working)
4913 043โยคะเพื่อสุขภาพ 2(1-2-3)
(Yoga for healthy)
4913 044 ศิลปะการป้องกันตัว 2(0-4-2)
(Self Defense Basics)                                                            
4913 045 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2(2-0-4)
(Sufficiency Economy Philosophy)
4913 046 การวิจัยเบื้องต้น 2(1-2-3)
(Fundamental Research)
4913 047 อาเซียนศึกษา 2(2-0-4)
(ASIAN Studies)

5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร   ไม่น้อยกว่า2   ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ให้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรทุกภาคการศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และหรือทักษะวิชาชีพสมรรถ

อาจารย์ประจำหลักสูตร

นางนุชจรินทร์  แก่นบุปผา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

นางนัจรินทร์ ผิวผ่อง

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

นางพนาไพร โฉมงาม

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ดร.ภคิน ไชยช่วย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

นางกันยารัตน์ ชิราวุฒิ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

นางสาวเบญญาภา ประกอบแสง

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

นางรุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

นายอานุภาพ แสนใจ

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

นางสาวสาวิตรี สุมาโท

วิทยาจารย์

นางแก้วใจ มาลีลัย

วิทยาจารย์

ดร.ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์

วิทยาจารย์

บุคลากรประจำหลักสูตร

นางสาวจินตนา  นิยมวงศ์

ธุรการ (จ้างเหมาบริการ)

ติดต่อภาควิชา

สำนักงานภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ อาคารเรียนและหอนอน 10 ชั้น
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
หมายเลขโทรศัพท์ 045-210-270-74 ต่อ
Facebook :

 

 

วิทยาลัยในสังกัด

  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

หน่วยงาน

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • สถาบันพระบรมราชชนก
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ฯ
  • สสจ.อุบลราชธานี
  • สสอ.วารินชำราบ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

  • Home
  • About
  • Contact
Menu
  • Home
  • About
  • Contact

ติดต่อเรา

Facebook Youtube Envelope Twitter
  • ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/แสดงความคิดเห็น
  • การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสใน
    การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
  • เว็บไซต์เดิม

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
187 หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์ 0 4521 0270 - 4 โทรสาร 0 4521 0278
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
จัดการ การอนุญาตใช้งาน Cookies
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ดูรายละเอียด
คุกกี้ที่จำเป็น Always active
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ หากขาดคุกกี้ประเภทนี้ เว็บไซต์จะไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ
Preferences
The technical storage or access is necessary for the legitimate purpose of storing preferences that are not requested by the subscriber or user.
คุกกี้เก็บสถิติ
The technical storage or access that is used exclusively for statistical purposes. คุกกี้ที่ใช้เก็บสถิติการเข้าใช้บริการเว็บไซต์
คุกกี้การตลาด
คุกกี้ที่ใช้ในการตลาดออนไลน์ ใช้เพื่อนำเสนอข้อมูลทางการตลาดให้เหมาะสมเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น
Manage options Manage services Manage vendors Read more about these purposes
ดูรายละเอียด
{title} {title} {title}