Skip to content
  • เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างการบริหาร
    • ตราสัญลักษณ์
    • คณะกรรมการบริหารฯ
    • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • ประวัติความเป็นมา
    • อัตลักษณ์
    • หน่วยงานวิทยาลัย
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (นอกเวลาราชการ)
    • สาขาวิชาทันตสาธารณสุข
    • สาขาวิชาปฎิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
    • สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
  • ระบบสารสนเทศ
    • นักศึกษา
    • บุคลากร
    • ศิษย์เก่า
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างการบริหาร
    • ตราสัญลักษณ์
    • คณะกรรมการบริหารฯ
    • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • ประวัติความเป็นมา
    • อัตลักษณ์
    • หน่วยงานวิทยาลัย
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (นอกเวลาราชการ)
    • สาขาวิชาทันตสาธารณสุข
    • สาขาวิชาปฎิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
    • สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
  • ระบบสารสนเทศ
    • นักศึกษา
    • บุคลากร
    • ศิษย์เก่า
  • ติดต่อเรา
เกี่ยวกับหลักสูตร
รายละเอียดหลักสูตร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
บุคลากรประจำหลักสูตร
ติดต่อภาควิชา
เกี่ยวกับหลักสูตร

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
(ในเวลาและนอกเวลาราชการ)
Bachelor of Public Health (Community Public Health)

ความเป็นมาที่อยากรู้จัก

   หากพูดถึงงานสาธารณสุข หลายๆ คน อาจจะคุ้นเคยกับงานรักษาพยาบาล เช่น หมอ หรือพยาบาล แต่งานทางด้านสาธารณสุข นอกจากงานรักษาแล้ว ยังมีงานส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งไม่เพียงดูแลประชาชนรายบุคคลแล้ว ยังต้องดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคมให้เอื้อต่อสุขภาพที่ดีด้วย ผู้ที่จบสาธารณสุขศาสตร์ จึงมักจะมีรอบด้าน ขึ้นกับหน่วยงานและสถานที่ทำงาน บางคนทำงานเกี่ยวกับป้องกันควบคุมโรค เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บางคนทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในช่วงวัยต่างๆ บางคนทำงานวิเคราะห์ทางด้านนโยบายและแผนสุขภาพ บางคนทำงานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในสังคมทั่วไปและในสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพที่ดี บางคนทำงานประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพซึ่งต้องให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นร่วมด้วย

   ดังนั้น สถานที่ปฏิบัติงานของนักสาธารณสุขในภาครัฐ จึงมีหลากหลายทั้งในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลประจำอำเภอและประจำจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและจังหวัด ตลอดจนองค์กรสุขภาพต่างๆ ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้บทบาทของนักสาธารณสุขจะมีหลากหลาย แต่การเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขชุมชนของสถาบันพระบรมราชชนกนั้น จะมีจุดเด่นที่การเน้นรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อใช้ทำงานกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก เพราะสถาบันพระบรมราชชนกคือมหาวิทยาลัยของกระทรวงสาธารณสุขที่ผลิตบุคลากรป้อนให้กับกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งสร้างและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ ให้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์แก้ปัญหา พัฒนาการสาธารณสุขอย่างเป็นระบบสามารถบูรณาการความรู้ ทักษะ สร้างสรรค์ผลงานในการบริการสุขภาพปฐมภูมิ และจัดการสุขภาพชุมชนเชิงรุกแบบองค์รวมโดยเน้นการสร้างเครือข่ายและมีส่วนร่วมตามมาตรฐานวิชาชีพ บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ รวมทั้ง ขยายโอกาสให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

การส่งเสริมสุขภาพ
สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
การบำบัดโรคและปฐมพยาบาล
การใช้ยาเบื้องต้น
ชีวสถิติ
วิจัยด้านสาธารณสุข
อนามัยสิ่งแวดล้อม
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การบริหารงานสาธารณสุข
การจัดการระบบสุขภาพชุมชน
การแก้ไขปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุข

จรรยาบรรณวิชาชีพ

วิทยาการระบาด

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีคุณสมบัติในการสอบความรู้เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สามารถประกอบวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และข้อกำหนดของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ในสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือนักวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ รวมทั้ง ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพและพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุข
นักวิชาการควบคุมโรค
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
นักวิชาการสุขาภิบาล
นักวิชาการสุขศึกษา
อาจารย์
นักวิชาการอื่นๆ

ข้อมูลอ้างอิง : คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (PHAS)

รายละเอียดหลักสูตร

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัส : 25551711113509 

ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health Program in Community Public Health

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญาภาษาไทย : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) 

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health (Community Public Health) 

อักษรย่อภาษาไทย ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.P.H. (Community Public Health) 

3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ประเภทปริญญาตรีทางวิชาชีพ 

5. ภาษาที่ใช้ หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษบางรายวิชา)

6. การรับเข้าศึกษา รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

7. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

– หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 เปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2554 ซึ่งเป็นหลักสูตรปรับปรุงจาก หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553

– สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้ความเห็นชอบหลักสูตรฯในการประชุม ครั้งที่ พิเศษที่ 2/2559 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

– สภามหาวิทยาลัยบูรพา ให้ความเห็นชอบหลักสูตรฯในการประชุม ครั้งที่ 4/2559 วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

– สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นชอบหลักสูตรฯ ตามหนังสือที่ สคสท.009/ 2560 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

– สภาการสาธารณสุขชุมชน ให้ความเห็นชอบหลักสูตรฯ ตามหนังสือที่ สธช.75/2560 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

–  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เปิดสอนภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2564 ปรับปรุงจากหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

– คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุมวาระพิเศษ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564

– สภาวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564 

– สภาการสาธารณสุขชุมชน ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 

– สภาสถาบันพระบรมราชชนก ให้อนุมัติในการประชุม ครั้งที่ 5/2564 วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

8. สถานที่จัดการเรียนการสอน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเครือข่ายวิชาการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี, โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี, ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี, เทศบาลเมืองวารินชำราบ, สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 10 อุบลราชธานี และฝึกประสบการณ์สาธารณสุขชุมชนในชุมชน, สถานบริการสาธารณสุข (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, โรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลจังหวัด) พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ

9. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีคุณสมบัติในการสอบความรู้เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สามารถประกอบวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และข้อกำหนดของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ในสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสุขศึกษา อาจารย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือนักวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ รวมทั้งปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพและพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

นายจินดา  คำแก้ว

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

นางอารี จึงเจริญนรสุข

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

นายอนุสรณ์ บุญทรง

วิทยาจารย์ชำนาญการ

ดร.นฤมล กิ่งแก้ว

วิทยาจารย์ปฏิบัติการ

นางสาวสาวิตรี สุมาโท

วิทยาจารย์

ดร.เกศิณี หาญจังสิทธิ์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ดร.อุรารัช บูรณะคงคาตรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ดร.นิธิศ ธานี

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

ดร.ปณิตา ครองยุทธ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ดร.ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์

วิทยาจารย์

นางกันยารัตน์ ชิราวุฒิ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ดร.กิ่งแก้ว มาพงษ์   

เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

ดร.รับขวัญ เชื้อลี

เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

นายสารสิทธิ์ โรจน์ธนะธัญญา

เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

นางพนาไพร โฉมงาม 

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

นางวันเพ็ญ สมหอม

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ดร.ศุภชัย ยาณะเรือง

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

นายสมพร แก้วทอง

จพ.ทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

นายเทพ นันทพูลทรัพย์

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

นางสาวธนิสสา รามฤทธิ์

เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

นายวุฒิฌาน ห้วยทราย

วิทยาจารย์

บุคลากรประจำหลักสูตร

นางสมทรัพย์  ดวงมาลา

พนักงานประจำห้องทดลอง

ติดต่อภาควิชา

สำนักงานภาควิชาสาธารณสุขชุมชน อาคารปฏิบัติการชั้น 2
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
หมายเลขโทรศัพท์ 045-210-270-74 ต่อ 145
Facebook : ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน

วิทยาลัยในสังกัด

  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

หน่วยงาน

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • สถาบันพระบรมราชชนก
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ฯ
  • สสจ.อุบลราชธานี
  • สสอ.วารินชำราบ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

  • Home
  • About
  • Contact
Menu
  • Home
  • About
  • Contact

ติดต่อเรา

Facebook Youtube Envelope Twitter
  • ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/แสดงความคิดเห็น
  • การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสใน
    การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
  • เว็บไซต์เดิม

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
187 หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์ 0 4521 0270 - 4 โทรสาร 0 4521 0278
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
จัดการ การอนุญาตใช้งาน Cookies
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ดูรายละเอียด
คุกกี้ที่จำเป็น Always active
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ หากขาดคุกกี้ประเภทนี้ เว็บไซต์จะไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ
Preferences
The technical storage or access is necessary for the legitimate purpose of storing preferences that are not requested by the subscriber or user.
คุกกี้เก็บสถิติ
The technical storage or access that is used exclusively for statistical purposes. คุกกี้ที่ใช้เก็บสถิติการเข้าใช้บริการเว็บไซต์
คุกกี้การตลาด
คุกกี้ที่ใช้ในการตลาดออนไลน์ ใช้เพื่อนำเสนอข้อมูลทางการตลาดให้เหมาะสมเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น
Manage options Manage services Manage vendors Read more about these purposes
ดูรายละเอียด
{title} {title} {title}