ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์_เก่า

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation

ความเป็นมาที่อยากรู้จัก

ทำไมต้อง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์? หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เรียนแค่ 2 ปี เรียนจบแล้วสามารถเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในฐานะผู้ช่วยแพทย์ เวชศาสตร์และนักปฏิบัติการฉุกเฉิน ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เทศบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข ที่เน้นการป้องกันโรคกรณีฉุกเฉินและการพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน โดยคำนึงถึงการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2556

ปรัชญาหลักสูตร

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2559 สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในฐานะผู้ช่วยแพทย์ เวชศาสตร์และนักปฏิบัติการฉุกเฉิน เป็นผู้มีความรู้ ทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้ศาสตร์และศิลป์อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติการฉุกเฉิน ทั้งนอกและในสถานพยาบาล สามารถปฏิบัติหน้าที่ภายใต้อำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบและข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ ตลอดจนดำเนินงานหรือบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้

สาขานี้เรียนอะไร

จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติได้จริงทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน การช่วยฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น กายวิภาคศาสตร์ พยาธิสรีรวิทยาจิตวิทยาทั่วไป เภสัชวิทยาพื้นฐาน การยกและเคลื่อนย้าย การดูแลผู้ป่วยเฉพาะกรณี การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ ให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในจุดเกิดเหตุและสถานพยาบาล

จบสาขานี้ทำอะไร

ทำงานที่ห้องฉุกเฉิน (Emergency room) ของโรงพยาบาล และมีโอกาสการเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ
เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์

ข้อมูลอ้างอิง : คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (PHAS)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อภาษาอังกฤษ Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อภาษาไทย ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อย่อ: ปวส. (สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation
ชื่อย่อ: Dip. (Emergency Medical Operation)

โครงสร้างหลักสูตร

1.  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  83หน่วยกิต
2.  จำนวนหน่วยกิตรวมกลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ* 18*หน่วยกิต

1. หมวดวิชาทักษะชีวิต 21 หน่วยกิต
1)  กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร 9หน่วยกิต
2)  กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 6  หน่วยกิต
3)  กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต 6หน่วยกิต

2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ 56  หน่วยกิต
1)  กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน   18  หน่วยกิตฃ
2)  กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ 28หน่วยกิต  
3)  กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือกไม่น้อยกว่า 2หน่วยกิต  
4)  ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
5)  โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 4  หน่วยกิต  

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6  หน่วยกิต  
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 
เป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต และหรือทักษะวิชาชีพ

หมายเหตุ   * กลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพให้เกรดมีค่าระดับขั้น S หรือ U และไม่นำไปคิดเป็นหน่วยกิตรวมของหลักสูตร

  รายวิชาที่กำหนดในกลุ่มวิชาและหมวดวิชาต่างๆ

    1.  กลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ* 18* หน่วยกิต

4910 101 ระบบสุขภาพ 3(3-0-6) (Health System)
4910 102 การปฐมพยาบาล 3(1-4-4) (First Aid)
4910 103 ศัพท์ทางการแพทย์สำหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน 3(3-0-6) (Medical Terminology for Emergency Medical Operation)
4910 104 โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ 3(3-0-6) (Communicable and Non Communicable Diseases)
4910 105 การป้องกันปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 3(3-0-6)(Holistic Health Prevention and Promotion),
4910 106 การพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน 3(3-0-6)
(Community Development in Emergency Medical Service)
หมายเหตุ   * กลุ่มรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพให้เกรดมีค่าระดับ S หรือ U และไม่นำไปคิดเป็นหน่วยกิตรวมของหลักสูตร

2.  หมวดวิชาทักษะชีวิต (General Education Course)       21 หน่วยกิตให้ศึกษารายวิชาดังต่อไปนี้

1) กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร 9  หน่วยกิต

4911 107 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6) (Thai for Communication)
4911 108 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5) (English for Communication)
4911 209 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3(2-2-5) (Academic English)

2) กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 6  หน่วยกิต

4911 110 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2-2-5) (Information Technology)
4911 211 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ 3(2-2-5) (Systems Thinking Process Development)

3) กลุ่มวิชาทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต 6  หน่วยกิต

4911 112 มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6) (Human Society and Environment)
4911 213 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
(Science and Mathematics in Daily Life)

3.  หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ (Professional Course) 56  หน่วยกิต
ให้ศึกษาจากรายวิชาดังต่อไปนี้

1)  กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน 18  หน่วยกิต
4912 114 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสำหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน 3(2-2-5)
(Anatomy and Physiology for Emergency Medical Operation)
4912 115พยาธิสรีรวิทยาในภาวะฉุกเฉิน 3(3-0-6)
(Pathophysiology in Emergency Medicine)
4912 116 เภสัชวิทยาพื้นฐาน 3(3-0-6)
(Fundamental Pharmacology)
4912 117 จิตวิทยาทั่วไป 3(3-0-6) 
(General Psychology)
4912 218   อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3(3-0-6)
(Occupational Health and Safety)
4912 219 ชีวสถิติและวิทยาการระบาด 3(2-2-5)
(Biostatistics and Epidemiology)

2)  กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ 28  หน่วยกิต
4912 120 เทคนิคหัตถการสำหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน 3(1-4-4)
(Procedure for Emergency Medical Operation)
4912 121 การประเมินสภาพ 4(2-4-6)
(Patients Assessment)  ฃ
4912 122 การยกและการเคลื่อนย้าย 3(1-4-4)
(Lifting and Moving)
4912 223 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 2(2-0-4)
(Ethics and Professional Moral Codes)
4912 224 การช่วยฟื้นคืนชีพ 3(1-4-4)
(Cardiopulmonary Resuscitation)
4912 225 การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน 2(2-0-4)
(Emergency Medical Care of Trauma Patients)
4912 226 การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน 3(2-2-5)
(Emergency Medical Care of Medical Patients)
4912 227 การดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะกรณี 2(2-0-4)
(Emergency Medical Care of Special Issue)
4912 228 ระบบปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 4(2-4-6)
( Emergency Medical Operation System )
4912 229 นิติเวชศาสตร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2(2-0-4) (Forensic Medicine and Related Law)

3)  กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือกไม่น้อยกว่า 2หน่วยกิต ให้เลือกศึกษาจากรายวิชาดังต่อไปนี้

4912 030 การบริหารงานสาธารณสุข 2(2-0-4)
(Public Health Administration)
4912 031 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข         2(2-0-4)
(Public Health Economics)
4912 032 ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ทางเลือก 2(2-0-4)
(Thai Wisdom and Alternative Medicine)

4)  ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 4  หน่วยกิต
4912 233 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 1 2(0-10-0)
(Field Work 1)
4912 234 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ 2 2(0-10-0)
(Field Work 2)

5)  โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 4  หน่วยกิต
4912 235 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 4(0-12-0)
(Project for Developing Professional Skill)

4.  หมวดวิชาเลือกเสรี (Elective Course) ไม่น้อยกว่า  6  หน่วยกิต
ให้เลือกศึกษาตามความถนัดและความสนใจจากรายวิชาที่กำหนด หรือเลือกจากรายวิชากลุ่มทักษะชีวิต รายวิชากลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก หรือรายวิชาอื่นที่วิทยาลัยเปิดสอน ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

4913 036 การถ่ายภาพ 2(1-2-3)
(Photography)
4913 037 หัตถเวชศาสตร์  2(1-2-3)
(Traditional Massage)
4913 038 การขับรถยนต์ 2(0-4-2)
(Driving)     
4913 039 การประเมินโครงการ 2(1-2-3)
(Project Evaluation)
4913 040 การว่ายน้ำ 2(0-4-2)
(Swimming)    
4913 041 การพัฒนาบุคลิกภาพ 2(2-0-4)
(Personality Development)
4913 042 พลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีม 2(1-2-3)
(Group Dynamics and Team working)
4913 043โยคะเพื่อสุขภาพ 2(1-2-3)
(Yoga for healthy)
4913 044 ศิลปะการป้องกันตัว 2(0-4-2)
(Self Defense Basics)                                                            
4913 045 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2(2-0-4)
(Sufficiency Economy Philosophy)
4913 046 การวิจัยเบื้องต้น 2(1-2-3)
(Fundamental Research)
4913 047 อาเซียนศึกษา 2(2-0-4)
(ASIAN Studies)

5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร   ไม่น้อยกว่า2   ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ให้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรทุกภาคการศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และหรือทักษะวิชาชีพ


สำนักงานภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ อาคารเรียนและหอนอน 10 ชั้น
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
หมายเลขโทรศัพท์ 045-210-270-74 ต่อ
Facebook :